Enterprise Architecture

Enterprise Architecture



บริการให้คำปรึกษาพร้อมจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture)
สถาปัตยกรรมองค์กร (Enterprise Architecture) เป็นแนวคิดและกระบวนการที่ใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการโครงสร้างขององค์กรอย่างเชื่อถือได้ เน้นที่การเชื่อมโยงระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งรวมถึงกระบวนการทางธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล โดยสถาปัตยกรรมนี้จะถูกออกแบบเพื่อให้สนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขององค์กร และช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ




องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมองค์กร
1. Business Architecture:
เน้นการออกแบบและวางแผนกิจกรรมทางธุรกิจขององค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและเนื้อหาทางธุรกิจเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กรเข้าใจโครงสร้างและการทำงานขององค์กรได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ
2. Data Architecture: เน้นการวางแผนและออกแบบโครงสร้างและการจัดเก็บข้อมูลในองค์กร เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง สมบูรณ์
3. Application Architecture: เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมและประเภทงานต่าง ๆ ในองค์กร แอปพลิเคชันเหล่านี้สามารถเป็นแอปพลิเคชันบนเว็บ (Web applications) หรือแอปพลิเคชันบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (Desktop applications) หรือแม้กระทั่งแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile applications) ซึ่งทำหน้าที่รองรับกระบวนการธุรกิจและการใช้งานข้อมูลขององค์กรในรูปแบบต่าง ๆ
4. Technology Architecture: เน้นการวางแผนและออกแบบโครงสร้างทางเทคโนโลยี (Technology Infrastructure) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ขององค์กร โดยระบุโครงสร้างทางเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย, กำหนดนโยบายและมาตรฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ, ระบุวิธีการปรับปรุงและรักษาระบบทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อให้รองรับและสนับสนุนการทำงานและกระบวนการต่าง ๆ ในองค์กร โดยการสร้างพื้นที่สำหรับการทำงานของระบบและแอปพลิเคชันที่สำคัญ ๆ และการเลือกระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประโยชน์ของการทำสถาปัตยกรรมองค์กร

  • ช่วยให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นและเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน
  • สร้างความสอดคล้องระหว่างกระบวนการทางธุรกิจ แอปพลิเคชัน และโครงสร้างทางเทคโนโลยี ทำให้สามารถรองรับวัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์กรได้
  • สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันและระบบใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ลดความซ้ำซ้อน ทำการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมธุรกิจ ซึ่งมีความสำคัญในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและตลาด
  • สามารถจัดการข้อมูลในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาความปลอดภัยของข้อมูล และป้องกันการแฮ็กหรือการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นประโยชน์สำคัญเมื่อต้องจัดเก็บและจัดการข้อมูลที่เป็นความลับและสำคัญในองค์กร
  • องค์กรมีมาตรฐานและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คงทนต่อการเปลี่ยนแปลง และช่วยให้องค์กรมีฐานที่แข็งแกร่งในตลาด สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ทำไมถึงต้อง PDPA Plus
 Innovation of the future: ด้วยเทคโนโลยีด้าน Intelligence, Ai และ Big Data Analysis เข้ามายกระดับการตรวจจับภัยคุกคามไซเบอร์รูปแบบใหม่ และสามารถป้องกันในระดับสูงที่สุดในงบประมาณที่คุ้มค่าและเหมาะสมต่อองค์กรในทุกระดับ

 National Team of Experts: รวมผู้เชี่ยวชาญในทุกด้านที่จำเป็นในการวางระบบตามกฎหมาย PDPA ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT และ Cyber Security ผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบทางธุรกิจและมาตรฐานสากล มีประสบการณ์กว่า 15 ปี วางระบบให้องค์กรระดับประเทศกว่า 100 องค์กร
 100% Quality Guaranteed: เน้นพัฒนาระบบการทำงานที่ดีเลิศเหมาะสมกับประเภทธุรกิจของลูกค้า ยกระดับการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยในระดับสากล เน้นระบบที่ใช้งานได้จริง ทำงานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ไม่เกิดภาระงานที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อผู้ปฎิบัติงาน การันตีผลงานที่วัดผลได้จากองค์กรชั้นนำระดับประเทศ
Service Beyond Expectation: ทีมงานผู้เชี่ยวชาญและทีมงานสนับสนุน ทำงานแบบมืออาชีพ รวดเร็ว ตอบโจทย์ทุกปัญหาด้าน PDPA , DPO และ Cyber Security คอยสนับสนุนลูกค้า โดยทีมงานทุกคนจะผ่านการฝึกอบรม และได้รับ Certificate จากสถาบันชั้นนำระดับประเทศ และ ระดับโลก เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุด



Another Service

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้นอย่างมาก PDPA Plus จึงมีบริการตรวจสอบภายในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ตามพระราชบัญญัติ การรักษาความปลอดภัยมั่นคงไซเบอร์ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อป้องกัน การถูกโจมตีทางไซเบอร์ และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีการประกาศใช้
2283 ผู้เข้าชม
Data Governance คือ การวางนโยบายในการกำกับดูแลข้อมูล โดยจะต้องมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ วางกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลตาม Life-cycle และกำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อบริหารข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไป หรือ ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อมีการกำกับดูแลข้อมูลที่ดี
1870 ผู้เข้าชม
เพื่อสร้างกรอบแนวทางในการพิจารณาเปลี่ยนแปลงการทำงานโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำสถาปัตยกรรมองค์กร (EA)
5467 ผู้เข้าชม
Penetration Testing
1282 ผู้เข้าชม
Vulnerability Assessment
2711 ผู้เข้าชม
เราให้บริการ DPO จากผู้ให้บริการภายนอก (outsourced DPO services) ที่ผ่านการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น เข้าใจธุรกิจ มีประสบการณ์ และ สามารถช่วยองค์กรจัดการด้านข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ และ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
4538 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์